1. สมัยก่อน พ.ศ.1643 (ก่อนคริสศักราช ถึง ค.ศ. 1100) เป็นสมัยโบราณ
ตามบันทึกในประวัติศาสตร์แสดงว่าได้มีการใช้จักรกลในการทำสงครามแทนหน้าที่ของปืนใหญ่มาแล้วหมายถึง
การบิดตัวของเชือกที่ทำจากเส้นผมหรือเอ็นสัตว์
1.1 สมัยก่อนมีดินปืน เป็นสมัยที่ใช้อาวุธยิงหรือเครื่องยิงต่าง ๆ ที่เป็นกลไกแบบต่าง ๆ เช่น
1.1.1 บอลลิสต้า
เป็นอาวุธพื้นราบ ใช้เชือกผูกติดกันคล้ายธนูใช้ยิงลูกธนู แหลน,หลาว หรือก้อนหิน เหมือนกับปืนใหญ่กระสุนวิถีราบปัจจุบันใช้ยิงทำลายเครื่องป้องกันของข้าศึก
1.1.2 คาตาพัลท์ เป็นอาวุธประเภทปืนใหญ่กระสุนวิถีโค้งหรือเครื่องยิงลูกระเบิดในสมัยนั้นอาวุธสามารถเหวี่ยงก้อนหินหนัก300 ปอนด์ ไปได้ไกลถึง 600 หลา เป็นแนวโค้งเพื่อไปทำอันตรายต่อข้าศึกที่อยู่หลังกำแพงหรือทำลายการป้องกันของข้าศึก
1.1.3 ทรีบูเซท
การทำงานของอาวุธชนิดนี้ ใช้หลักการถ่วงน้ำหนักที่เหมาะเหวี่ยงกระสุนไปยังที่หมายเครื่องยิงประเภทนี้มีน้ำหนักถึง 19 ตัน และบางชนิดสามารถเหวี่ยงก้อนหิน หนัก 300 ปอนด์ ไปได้ไกลถึง 300หลา ลักษณะการใช้งานคล้ายกับคาตาพัลท์ แต่ใหญ่กว่า และมีการใช้อย่างกว้างขวางติดต่อกันเรื่อยมาจนกระทั่งรู้จักการใช้ดินปืน
เครื่องยิงดังกล่าวข้างต้น กรีก, คาร์เทจและโรมัน นำมาใช้เป็นอาวุธหลัก พลังงานในการยิงที่นำมาใช้อาศัยหลักการง่าย ๆ คือ
ก. หลักการสะสมพลังงาน
ข. ปลดปล่อยพลังงานด้วยวิธีง่าย ๆ
ค. เป็นกลไกแบบง่าย ๆ
ง. สามารถลำเลียงเคลื่อนย้ายได้
จึงทำให้ได้หลักการที่เป็นมูลฐานมาพัฒนา เป็นอาวุธสมัยใหม่
2. สมัยตั้งแต่ พ.ศ.1643 – พ.ศ.2505 (ค.ศ. 1100 – ค.ศ.1962)
2.1 สมัยดินปืน
จากเอกสารภาษาลาติน คริสศตวรรษที่ 9 ที่พบในยุโรป ปรากฏว่าในเอกสารบันทึกสูตรสำหรับทำดินปืนไว้อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ.1611 (ค.ศ.118) ปรากฏเป็นครั้งแรกของอาวุธยิงในยุโรปตะวันตกเชื่อได้ว่าพบโดยชนชาติมัวร์ ที่ซารากัสกา ปืนใหญ่ที่รู้จักกันครั้งแรกที่สุดนี้ เป็นอาวุธที่ทำด้วยเหล็กหล่อรูปร่างคล้ายๆ เหยือก รูปร่างกลมขนาดใหญ่ตรงคอแคบ และตรงปากบานออกลูกกระสุนเป็นเหล็กแหลมด้านของเหล็กหุ้มด้วยหนัง ทำให้แน่นพอดีตรงคอของปืนระยะยิงไกลประมาณ 700 หลา เนื่องจากลักษณะรูปร่างปืนใหญ่นี้จึงเรียกว่า POT DEFER เหยือกเหล็ก
2.2 ปืนใหญ่ลำกล้องเรียบบรรจุทางปากลำกล้อง
ระยะเวลาประมาณ 300 ปี ที่ปืนใหญ่ยังคงเป็นลำกล้องขนาดเล็ก สร้างขึ้นอย่างหยาบ ๆ ใช้กระสุนตะกั่วหรือเหล็กหล่อกลมขนาด1 หรือ 2 ปอนด์ จนถึงกลางคริสศตวรรษที่15 ปืนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นปืนบอมบาร์ดขนาดใหญ่โตมีขนาดกว้างปากลำกล้อง 25 นิ้ว กระบอกหนึ่งของอาวุธที่น่ากลัวนี้อยู่ที่มอนส์เมก(MONS MEG) ของประสาทเอดินเบอร์ก (EDINBURGHCASTLE) ยิงกระสุนเหล็กหลมขนาด 19 ฝ นิ้ว ไปได้ไกลถึง1400 หลา หรือยิงกระสุนหินกลมไปได้ไกลอีก 2 เท่า ปืนบอมบาร์ดที่น่ากลัวของพวกเตอร์กก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของปืนใหญ่ในศตวรรษที่15 อาวุธเหล่านี้หล่อด้วยทองเหลืองหนักถึง 19 ตัน สามารถยิงกระสุนหินหนัก 600 ปอนด์ ได้ในอัตราวันละ7 นัด เทคนิคของการใช้อาวุธเหล่านี้เข้าที่ตั้งใช้ยิงทำลายกำแพงหรือป้อมในระยะ100 หลา ที่ตั้งปืนนี้พลประจำปืนอยู่ในระยะยิงของพลแม่นธนู ดังนั้นโดยธรรมดาจะสร้างที่กำบังด้วยไม้หนาๆ เป็นที่กำบังด้วยไม้หนา ๆ เพื่อป้องกันพลประจำปืนขณะทำการบรรจุและยกที่กำบังนี้ออกเมื่อทำการยิ
งปืน
2.3 ปืนใหญ่ลำกล้องชนิดมีเกลียว
ระหว่างปี พ.ศ. 2173- 2393 (ค.ศ.1630 – 1850) ได้มีการก้าวหน้าทางด้านวิชาการเกี่ยวกับการทำทองเหลืองและเหล็กหล่อในระยะนี้จะมีการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานเรื่องขนาดกว้างปากลำกล้องปืน มีการใช้ล้อและรถรองปืนเพื่อทำให้เกิดความคล่องแคล่วและเป็นครั้งแรกที่ใช้ลำกล้องชนิดมีเกลียวกับกระสุนเรียวยาว เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และเพิ่มระยะยิงในยุคนี้จะเห็นได้ว่าเป็นการสิ้นสุดของปืนบอมบาร์ดขนาดยักษ์ ที่เคยทำความพ่ายแพ้และกำจัดปราสาทหินและป้อมขนาดใหญ่โต ซึ่งเป็นปืนที่มีอำนจอยู่ในขณะนั้น ในปี พ.ศ.2398(ค.ศ.1855) ลอร์ดอาร์มสตรองได้ออกแบบปืนใหญ่ลำกล้องมีเกลียวบรรจุทางท้ายขึ้น เป็นการเริ่มการสิ้นสุดของปืนใหญ่เก่าใช้เหล็กหล่อ ลูกกระสุนกลมบรรจุที่ทางปากลำกล้อง ยิ่งกว่านั้นลำกล้องยังใช้ปลอกรัดท้ายลำกล้องภายนอกเพิ่มความแข็งแรงให้เนื้อโลหะทำให้ได้ระยะยิงไกลขึ้น
ในระหว่างสงครามกลางเมืองของสหรัฐนายทหารสรรพาวุธได้ประสบความสำเร็จในการหล่อลำกล้อง ทำลายประวัติอันยิ่งใหญ่สำหรับปืนบรรจุทางปากลำกล้องที่ใช้มานานกว่า 700 ปีแล้ว ตามมูลฐานการเทโลหะหลอมละลายลงรอบๆ แกนที่มีน้ำหล่อระบายความร้อน ผนังชั้นในของลำกล้องจึงแข็งมากกว่าทนทานต่อการต้านทานแรงระเบิดของดินส่งกระสุนได้ ในระหว่างเดียวกันของสงครามกลางเมืองของสหรัฐนี้ ปืนเล็กยาวแบบใหม่ได้แพร่หลายทำความตื่นเต้นในเรื่องระยะยิงและความแม่นยำไปทั่วโลกด้วยถึงอย่างไรก็ตามความเจริญรุ่งเรืองของอาวุธเหล็กหล่อก็อยู่ในช่วงเวลาอันสั้นด้วยความเจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมเหล็กกล้าเข้ามาแทนให้การปรับปรุงเครื่องปิดท้ายและเครื่องรับแรงถอยสามารถสร้างเพื่อรับการใช้ดินควันน้อยและระเบิดแรงสูงได้หมายถึงการสิ้นสุดของปืนใช้ดินดำและบรรจุทางปากลำกล้อง ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าในการประดิษฐ์เครื่องเล็งและเครื่องให้ทางทิศมีประสิทธิภาพดีขึ้นด้วยสาระสำคัญเหล่านี้ ปืนใหญ่จึงเปลี่ยนมาอยู่ในรูปปัจจุบัน ในโอกาสต่อไปข้างหน้าจะเป็นการพัฒนาในเรื่องยานยนต์ขนส่ง,เครื่องมือติดต่อสื่อสาร, การใช้ในสงครามเคมี,รถถัง, การบิน และการรวมการผลิตและสุดท้ายก็คือ ขีปนาวุธ
(ปืนลำกล้องเรียบบรรจุทางปากลำกล้อง)ตามประวัติศาสตร์ไทยเราเริ่มตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชอาณาจักรในปีประมาณฯพ.ศ.1800 และตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปี รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง เรามีสงครามและมีการขยายแผ่อาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่ยังไม่พบบันทึกว่าเรามีปืนใหญ่แบบใช้กระสุนดินดำใช้ ครั้งกรุงศรีอยุธยา ปืนใหญ่เริ่มเข้ามามีบทบาทในกองทัพเมื่อปีพ.ศ.1927 มีการจัดปืนใหญ่เข้ามาประจำการในกองทัพหลวงตามหลักฐานในประวัติศาสตร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร ประมาณ พ.ศ.1928 สมเด็จพระราเมศวรได้เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ในครั้งนี้ได้นำปืนใหญ่ขึ้นไปกับกองทัพด้วยและได้ใช้ปืนใหญ่ทำการยิงกำแพงเมืองจนพังลงเป็นการใช้ ปืนใหญ่ในการรบเป็นครั้งแรกที่ค้นพบเป็นหลักฐานได้
ในปี พ.ศ.2081 สมเด็จพระชัยราชาธิราช เสด็จไปตีเมืองเชียงกรานคืนจากพม่าได้จากชาวเปอร์ตุเกสไปในกองทัพในฐานะเป็นทหารปืนใหญ่จำนวน120 คน เมื่อชนะศึกครั้งนี้แล้วทรงโปรดปรานพวกนี้มาก ได้พระราชทานที่เหนือคลองตะเคียนให้เป็นที่อยู่และอนุญาตให้สร้างวัดคริสศาสนาได้ด้วย
ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราชเป็นต้นมา ไทยคงได้ฝึกทหารปืนใหญ่ขึ้นไว้ใช้ในราชการทหารจนกระทั่งตั้งกองทหารประจำการขึ้นเรียกว่า “กรมพระตำรวจหลวง” แต่คงจะเป็นปืนใหญ่ตามกำแพงเมือง
ในปี พ.ศ.2091 สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ในการรบกับพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ที่มาตีเมืองไทยไทยได้นำเอาปืนใหญ่ลงเรืบรบไล่ยิงพม่าไม่สามารถเข้าตั้งประชิดพระนครได้ ต้องเลิกทัพกลับไป
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชระหว่างปี พ.ศ.2133 – 2148 ได้มีการใช้ปืนใหญ่หลายครั้งในการรบครั้งที่มีชื่อที่สุดคือ การรบที่บ้านสระเกศ แขวงไชโย จังหวัดอ่างทอง กิจการปืนใหญ่คงจะรุ่งเรืองอย่างมากทั้งด้านอาวุธและวิธีรบเพราะปรากฏว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2148 รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่งญี่ปุ่นรู้ว่าเรามีการเปลี่ยนรัชกาลใหม่ ก็ส่งทูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีด้วยพร้อมกับพระราชสาส์นมาขอไม่หอมและปืนใหญ่พร้อมด้วยดินปืน
ครั้นกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในสงครามเก้าทัพที่มีชื่อเสียงมากในการรบเมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวรได้เสด็จไปตั้งรับทัพหน้าของพระเจ้าประดุงที่ทุ่งลาดหญ้าเชิงเขาบรรทัดจังหวัดกาญจนบุรี ใช้ปืนใหญ่ยิงด้วยลูกกระสุนทำด้วยท่อนไม้ซุงยิงค่ายพม่า
ลักษณะของปืนใหญ่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นปืนแบบหล่อด้วยเหล็กหรือทองเหลือง(สัมฤทธิ์) บรรจุทางปากลำกล้อง กระสุนเป็นเหล็กกลมมีช่องจุดชนวนตรงท้ายปืนใช้ดินดำเป็นดินปืนส่วนใหญ่จะไม่มีล้อ ใช้ยิงบนแคร่ที่ทำด้วยไม้การเคลื่อนที่ปืนใหญ่ขนาดเล็กใช้คนหาบหาม ปืนใหญ่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์จัดว่าเป็นที่มีชื่อเสียงขณะนี้ได้ตั้งไว้อยู่หน้ากระทรวงกลาโหมเป็นความเจริญก้าวหน้าของทหารปืนใหญ่ไทยยุคปืนใหญ่ลำกล้องเรียบบรรจุทางปากลำกล้อง
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ผู้ที่สนใจในเรื่องปืนใหญ่มากผู้หนึ่งคือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 คู่กับรัชกาลที่ 4 พระองค์มีความสนพระทัยจนกระทั่งได้แปลตำราแบบฝึกปืนใหญ่มาเป็นภาษาไทยขึ้นซึ่งนับว่าเป็นแบบฝึกปืนใหญ่สมัยใหม่ครั้งแรกของประเทศไทยแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4ไทยยังไม่มีการจัดกิจการทหารตามแบบยุโรป